Categories
สุขภาพผู้หญิง

ปวดหลังช่วงมีประจำเดือน แบบไหนผิดปกติ?

ปวดหลังช่วงมีประจำเดือน แบบไหนผิดปกติ? รีบเช็กก่อนจะสาย

ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนเป็นประจำ บางทีปวดบั้นเอวตอนมีประจำเดือนร่วมด้วย และอาการปวดหลังก็ดูเหมือนจะปวดมาก จำเป็นแล้วล่ะที่ต้องเช็กว่าปวดหลังประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติ

อาการปวดเมื่อยก่อน ขณะ หรือหลังมีประจำเดือนเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนเป็นเรื่องปกติค่ะ บางคนมีอาการปวดท้องมากร่วมด้วยอีกต่างหาก ซึ่งก็เป็นอาการ PMS โดยทั่วไป แต่ถึงกระนั้นอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน ในบางกรณีก็น่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย งั้นสาว ๆ ลองมาเช็กกันหน่อยว่าปวดหลังช่วงมีประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติบ้าง

ปวดหลังช่วงมีประจำเดือน เป็นเพราะอะไร?

สาเหตุที่ทำให้สาว ๆ มีอาการปวดหลังก่อนหรือขณะเป็นประจำเดือน ก็เกิดจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (Prostagiandins) ซึ่งเจ้าสารตัวนี้จะทำให้หลอดเลือดหดตัวและส่งผลให้กล้ามเนื้อบีบตัวไปพร้อม ๆ กัน เพื่อไล่ประจำเดือนออกมาจากร่างกาย ดังนั้นผู้หญิงบางคนจึงมีอาการ PMS หงุดหงิดง่าย ปวดหัว ปวดเมื่อย รวมทั้งเกิดอาการปวดประจำเดือนทั้งที่ท้อง และมีอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนได้ แต่ทั้งนี้อาการปวดประจำเดือนดังกล่าวมักจะเป็นในช่วง 1-2 วันก่อนหรือขณะเป็นประจำเดือนเท่านั้น

ปวดหลังช่วงมีประจำเดือน แบบไหนผิดปกติ

อาการ PMS หรืออาการก่อนมีประจำเดือน เป็นสิ่งที่ทรมานผู้หญิงทุกคนเป็นปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วเราเองจะรู้สึกได้ถึงอาการปวดประจำเดือนที่เป็นอยู่ว่ามาก-น้อยขนาดไหน ทว่าในเคสที่มีอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนมาก ๆ ร่วมกับอาการเหล่านี้ถือว่าผิดปกติ และควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์โดยด่วน

  • มีอาการปวดหลัง ลามมาที่เอว เชิงกราน ก้นกบ และร้าวลงขา
  • ปวดหลัง ปวดท้อง ในช่วงมีประจำเดือนมาก และเป็นการปวดหนัก ๆ ครั้งแรก ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยปวดแรงอย่างนี้เลย
  • อาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน ก่อน หรืออาการปวดท้องประจำเดือนรุนแรงขึ้นในทุก ๆ เดือน
  • ปวดหลังหรือปวดท้องมากจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แม้กระทั่งกินยาแก้ปวดก็ยังไม่หาย
  • มีอาการปวดตลอดช่วงที่มีประจำเดือน
  • อาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนยังคงไม่หาย แม้ประจำเดือนจะหมดไปแล้ว
  • ปวดหลังมากและประจำเดือนมาน้อยหรือมากผิดปกติ (เป็นประจำเดือน 2 วัน หรือเกิน 7 วัน)
  • ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนพร้อมกับมีอาการตกขาวมาก ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • ปวดหลังระหว่างมีประจำเดือน ร่วมกับมีไข้สูง
  • ปวดหลังหรือท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งมากเป็นพิเศษ
  • ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนและสังเกตเห็นหน้าท้องบวมโตผิดปกติ ร่วมกับคลำก้อนที่ท้องได้

หากมีอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน ร่วมกับอาการผิดปกติเบื้องต้น แนะนำให้รีบไปพบสูตินรีแพทย์โดยเร็วที่สุดนะคะ เพราะความผิดปกติดังกล่าวอาจเป็นผลจากความผิดปกติในช่องท้องส่วนล่าง (มดลูก, รังไข่, ปีกมดลูก​) เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือมีอาการอักเสบที่อุ้งเชิงกรานก็เป็นได้

แต่สำหรับสาว ๆ ที่มีอาการปวดประจำเดือนนอกเหนือไปจากนี้ สามารถเช็กว่าเราเสี่ยงมีความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์อะไรได้บ้าง จากด้านล่างนี้เลย

กินยาแก้ปวดทุกครั้งที่ “ปวดท้องประจำเดือน” อันตรายหรือไม่?
“ประจำเดือน” จะมา พาปวดหัว
“ปวดไมเกรนช่วงมีประจำเดือน” เกิดจากอะไร รับมืออย่างไรดี?
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการ “ปวดท้องประจำเดือน”
“ปวดท้องประจำเดือน” ปวดแบบไหน? ต้องไปหาหมอ
ทำไมชอบ “ปวดหัวก่อนมีประจำเดือน” นะ
“ปวดท้องประจําเดือน” แบบไหน? ถึงต้องไปตรวจภายในได้แล้ว
ปวดน้องสาวเวลามี “ประจำเดือน” เกิดจาก? บรรเทาได้อย่างไร?
สัญญาณบอกโรค “ปวดท้องน้อย ประจำเดือนไม่มา”

ได้รู้สาเหตุของอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน และอาการที่ส่อเค้าผิดปกติกันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูกันค่ะว่าอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน บรรเทายังไงให้หาย สาว ๆ จะมีวิธีคืนความสบายให้ร่างกายด้วยตัวเองยังไงได้บ้าง

วิธีแก้อาการปวดหลัง ช่วงมีประจำเดือน

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างถูกสัดส่วน โดยควรรับประทานผัก-ผลไม้ให้มาก โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินบีและแมกนีเซียมสูง ลดอาหารเค็ม มัน รวมทั้งสารกระตุ้นอาการปวดอย่างเช่น กาแฟ ชา และแอลกอฮอล์

10 อาหาร ต้าน “ปวดประจำเดือน”
บำบัดอาการทรมาน เมื่อมี “ประจำเดือน”

  • ดื่มน้ำอุ่นให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือจะดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดประจำเดือนช่วยด้วยอีกทางก็ได้
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น หรืออาหารที่มีความเย็น
  • อาบน้ำอุ่น หรืออาจใช้แผ่นแปะชนิดร้อนแปะไว้ที่หลัง เพื่อให้ความร้อนช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึง ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีงานวิจัยที่เผยว่า การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนรวมทั้งอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนได้
  • กินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดประเภทไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) หรือยาแก้ปวดประจำเดือน เช่น พอนสแตน (Ponstan) ก็ได้ แต่ควรจะกินยาขนาด 250 มิลลิกรัมก็พอ และต้องกินหลังอาหารทันทีด้วย เนื่องจากยาแก้ปวดเหล่านี้มีฤทธิ์เป็นกรดค่ะ

“ปวดท้องประจำเดือน” แต่ไม่อยากกินยาแก้ปวด เรามีเคล็ดลับมาบอก

  • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยท่ายืดเหยียดร่างกาย หรือท่าโยคะแก้ปวดประจำเดือน

เล่นโยคะหัวเราะ สร้างสุขภาพดีได้ในช่วงมี “ประจำเดือน”
สุดยอดท่าโยคะ บรรเทาอาการ “ปวดท้องประจำเดือน”

  • นอนให้ถูกท่า เป็นวิธีแก้ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนที่ทำได้ง่าย ๆ แค่นอนตามนี้

ท่านอนแก้ “ปวดท้องประจำเดือน” หลับเต็มตื่นโดยไม่ทรมาน

อาการปวดท้องช่วงมีประจำเดือนที่มาพร้อมกับอาการปวดประจำเดือนที่ไม่ปกติ สาว ๆ อย่าได้วางเฉยหรือคิดว่าไม่เป็นอะไรเชียวนะคะ เพราะหากอาการปวดหลัง ปวดประจำเดือนมาก ๆ ที่เป็นอยู่เกิดจากความผิดปกติในอวัยวะระบบสืบพันธุ์จริง ๆ จะได้รักษาได้ทันท่วงที ดีกว่าปล่อยให้เป็นเรื้อรังและทรมานกับอาการปวดไปเรื่อย ๆ

ยาสตรี
ยาสตรี

เคล็ด (ไม่) ลับ

สำหรับสาวๆ ที่ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือปวดประจำเดือนบ่อยๆ มีอาการตกขาวมามาก หรืออยากผิวพรรณผ่องใส ทางเรามีสิ่งดีๆ มาฝากก็คือการทาน ยาสตรี

ยาสตรี” จะช่วยแก้ไขปัญหาที่สาวๆ กำลังเผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นตัวยาที่มาจากสมุนไพรธรรมชาติ ช่วยตอบโจทย์ปัญหาของผู้หญิง สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นยาฟอกเลือด บำรุงเลือด ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส แต่ถึงอย่างไรนั้นเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ยาสตรีที่เราจะเลือกนั้น สรรพคุณดี มีความน่าเชื่อถือ และไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จริงๆ ไม่ต้องไปเสี่ยงเลือกแล้วนะคะสาวๆ ทางเราขอแนะนำและเลือกมาให้แล้ว คือ ยาสตรีฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง จริงๆ ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลรามคำแหง
doctorsmithtv
โรงพยาบาลวิภาวดี
huffingtonpost
spinemd
https://health.kapook.com/view178974.html

Categories
สุขภาพผู้หญิง

ฮอร์โมนของผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงใน 1 เดือน

ฮอร์โมนของผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงใน 1 เดือน คราวนี้เราจะมาอธิบายในแต่ละช่วงสัปดาห์กันค่ะ

มาเรียนรู้ฮอร์โมนภายในร่างกายที่มีผลกระทบต่อคุณสาว ๆ ที่จะต้องเจอในแต่ละเดือน

ในทุกรอบเดือนสาว ๆ จะต้องพบเจอกับอาการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบมากมายต่อการใช้ชีวิต บางรายก็มีอาการหนักถึงขั้นจนต้องนอนพักเป็นวัน ๆ เพื่อให้อาการทุเลาลง เสียทั้งงาน เสียทั้งเวลา แต่รู้หรือไม่คะว่าอาการเหล่านั้นเป็นผลกระทบมาจากเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ในทุก ๆ เดือน ว่าแต่อาการที่มาจากผลกระทบการฮอร์โมนในร่างกายของคุณผู้หญิงมีอะไรบ้าง อย่ารอช้า ไปดูกันเลย

สัปดาห์ที่ 1

สัปดาห์ที่ 1 เริ่มนับจากวันที่ประจำเดือนมาวันแรกนั่นเอง โดยตามปกติแล้วผู้หญิงจะมีรอบเดือนอยู่ที่ 28 วัน แต่ในผู้หญิงบางคนอาจจะสามารถมีรอบเดือนได้ 21 ถึง 40 วัน เลย และรอบเดือนสามารถขาดได้หากตั้งครรภ์หรือเกิดความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย

โดยในช่วงสัปดาห์แรกนี้ ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายจะลดลงอย่างฮวบฮาบจนเหลือน้อยมากจนเกือบศูนย์ ส่วนเอสโตรเจนก็ลดลง ทำให้สาว ๆ บางคนเกิดอาการปวดหัวในช่วงวันแรก ๆ ของการมีประจำเดือน แต่อาการนี้จะหายไป เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนกลับมาเริ่มสูงขึ้น

ในช่วงที่เป็นประจำเดือนมดลูกจะเกิดการหดตัวเนื่องจากการหลั่งสารโพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ออกมาเป็นจำนวนมากซึ่งอาจทำให้มีผลกระทบต่อระบบลำไส้และเกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูกได้ค่ะ

สัปดาห์ที่ 2

ในช่วงสัปดาห์นี้ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังคงเหลือน้อยเท่ากับสัปดาห์ที่ 1 แต่เอสโตรเจนจะเพิ่มขึ้น ช่วงนี้จะมีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมา ทำให้ประสาทการรับรู้ความเจ็บปวดต่าง ๆ รับรู้ได้น้อยลง แต่ในผู้หญิงบางคนความต้องการทางเพศจะสูงขึ้นในช่วงปลาย ๆ ของสัปดาห์นี้ ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นของการตกไข่ที่กำลังจะเกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์นี้ และในช่วงนี้อวัยวะเพศจะใหญ่ขึ้นประมาณ 20% และเกิดอาการเลือดคั่งในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน

สัปดาห์ที่ 3

ช่วงนี้จะเป็นช่วงตกไข่ ระดับของเอสโตรเจนจะลดลงประมาณ 1 – 2 วัน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดอันเนื่องมาจากการตกไข่ และหลังจากไข่ตกแล้ว ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนก็จะเริ่มเพิ่มระดับขึ้น ทำให้อาการคัดเต้านมลดลงและประสาทการรับรู้ความเจ็บปวดต่าง ๆ ก็จะมีมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนชนิดนี้ก็อาจส่งผลให้สาว ๆ รู้สึกว่าตัวเองมีอาการบวมน้ำ เหมือนอ้วนขึ้น และป้ำ ๆ เป๋อ ๆ

สัปดาห์ที่ 4

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ก่อนที่ช่วงรอบเดือนจะมาถึงอีกครั้ง ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่จะเกิดอาการ PMS คัดเต้านม และท้องอืดขึ้น ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติก็จะเริ่มลดลงอีกครั้งในช่วง 48 ชั่วโมงก่อนเริ่มต้นรอบเดือนใหม่ ซึ่งการลดลงของฮอร์โมนจะทำให้เกิดความอยากอาหารมาขึ้นเป็นพิเศษอีกด้วย เราถึงรู้สึกหิวบ่อย ๆ กินจุบกินจิบไม่หยุดสักทีในช่วงนี้

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงกันไปไม่ได้ ดังนั้นสาว ๆ ก็ควรจะทำความเข้าใจและคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายบ่อย ๆ นะคะ รวมทั้งช่วงที่ประจำเดือนมา ถ้าเดือนไหนเกิดอาการผิดปกติอย่างเช่นปวดท้องมากผิดปกติทั้งที่ไม่เคยปวดมาก่อน หรือประจำเดือนมามาก มาน้อยกว่าปกติ ก็ควรจะไปพบแพทย์ เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณบอกโรคบางอย่าง อย่างเช่น เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ ช็อกโกแลตซีสต์ หรือแม้แต่โรคมะเร็งรังไข่ก็เป็นได้นะคะ

ยาสตรี
ยาสตรี

เคล็ด (ไม่) ลับ

สำหรับสาวๆ ที่ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือปวดประจำเดือนบ่อยๆ มีอาการตกขาวมามาก หรืออยากผิวพรรณผ่องใส ทางเรามีสิ่งดีๆ มาฝาก คือการทาน ยาสตรี

ยาสตรี” จะช่วยแก้ไขปัญหาที่สาวๆ กำลังเผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นตัวยาที่มาจากสมุนไพรธรรมชาติ ช่วยตอบโจทย์ปัญหาของผู้หญิง สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นยาฟอกเลือด บำรุงเลือด ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส แต่ถึงอย่างไรนั้นเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ยาสตรีที่เราจะเลือกนั้น สรรพคุณดี มีความน่าเชื่อถือ และไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จริงๆ ไม่ต้องไปเสี่ยงเลือกแล้วนะคะสาวๆ ทางเราขอแนะนำและเลือกมาให้แล้ว คือ ยาสตรีฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง จริงๆ ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
https://health.kapook.com/view98668.html

Categories
สุขภาพผู้หญิง

สมุนไพรขับประจำเดือน บรรเทาอาการเลือดลมตกค้างในร่างกาย

อยากขับเลือดประจำเดือนที่คั่งค้าง ลองหันมาพึ่งสมุนไพรขับประจำเดือนเหล่านี้ด้วยสรรพคุณขับเลือด ขับประจำเดือน แถมยังดีต่อสุขภาพ

สมุนไพรที่มีสรรพคุณขับเลือดประจำเดือนมีอะไรบ้างที่น่าใช้ สาว ๆ ที่มีปัญหาประจำเดือนตกค้าง อยากขับเลือดระดูในร่างกาย แก้ปัญหาสุขภาพสำหรับผู้หญิงให้รู้สึกสบายตัวมากขึ้น ทั้งยังกระตุ้นให้ประจำเดือนมาตามปกติสักที ลองมาดูว่าสมุนไพรขับประจำเดือนมีอะไรช่วยเรื่องนี้ได้บ้าง

1.ว่านชักมดลูก

สมุนไพรสตรีตัวท็อป ๆ ที่สาว ๆ คุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะว่านชักมดลูกเป็นส่วนผสมหลักในยาขับประจำเดือน ยาบำรุงเลือดสตรีที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป แต่ถ้าหากอยากใช้ว่านชักมดลูกขับประจำเดือนแบบตำรับยาสมุนไพรโบราณก็ได้เหมือนกัน โดยใช้เหง้าว่านชักมดลูกตัวเมียที่เก็บในฤดูแล้ง (ประมาณเดือน 11 แรม 1 ค่ำ ไปถึงกลางเดือน 3) แล้วนำเหง้าว่านชักมดลูกมาต้มกับน้ำสะอาด ใส่นำลงไปพอท่วมเหง้าแล้วต้มจนฟองยุบ จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาดื่มเป็นยาบีบมดลูก ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วหลังจากคลอดบุตร ขับประจำเดือน แก้ปวดมดลูก แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไส้เลื่อน ขับลม ขับน้ำคาวปลา และรักษาอาการอาหารไม่ย่อย

2.ดอกคำฝอย

ดอกคำฝอยเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการขับเลือด มีฤทธิ์ทำให้มดลูกและกล้ามเนื้อเรียบเกิดการบีบตัว และยังมีสรรพคุณขับน้ำคาวปลา ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก แถมยังแก้อาการตกเลือดได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญดอกคำฝอยยังช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วยนะ การกินก็ไม่ยุ่งยากเพราะสมัยนี้มีชาดอกคำฝอยขายอย่างแพร่หลายเลยล่ะ

3.ยอ

ไม่ว่าจะน้ำลูกยอหรือลูกยอในรูปแบบแคปซูลก็มีจำหน่ายในร้านขายอาหารเสริมและยาทั่วไป ซึ่งสรรพคุณของลูกยอก็ช่วยขับเลือดสตรี ช่วยฟอกเลือด ลดไข้ ขับลมในลำไส้ แก้อาเจียน บำรุงธาตุ และช่วยให้เจริญอาหาร

4.กระบือเจ็ดตัว

สมุนไพรที่มีชื่อว่ากระบือเจ็ดตัวหรือ กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ หรือใบท้องแดง มีสรรพคุณขับน้ำคาวปลาหลังคลอดบุตร และเป็นยาขับเลือดเน่าสำหรับสตรีในเรือนไฟ โดยส่วนที่ใช้จะเป็นใบ นำมาตำกับสุราขาว แล้วคั้นเอาแต่น้ำมารับประทาน

5.แก้ว

ต้นแก้วที่มีดอกสีขาว กลิ่นดอกแก้วหอม ๆ นี่แหละค่ะที่เป็นสมุนไพรขับประจำเดือนได้ด้วย โดยในตำรับยาจะใช้รากแห้ง ประมาณ 10-15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยตวง รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า เย็น

6.คัดเค้า

สมุนไพรคัดเค้าจัดเป็นสมุนไพรในกลุ่มช่วยขับประจำเดือนเช่นกัน โดยจะใช้ผลคัดเค้า 1 กำมือ ล้างสะอาดแล้วนำมาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ช่วยขับประจำเดือนตกค้าง

7.ส้มเสี้ยว

ใบของส้มเสี้ยวมีรสฝาด สรรพคุณของเขาก็ช่วยขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ และแก้แผลเปื่อยพัง โดยวิธีใช้ให้นำใบส้มเสี้ยวมาต้มกับยาบำรุงโลหิต จะช่วยให้ประจำเดือนที่เป็นลิ่มก้อน มีกลิ่นเหม็น เป็นปกติขึ้น

8.ฝ้าย

ต้นฝ้ายที่เรารู้จักกันดีก็มีสรรพคุณช่วยขับเลือดได้เหมือนกัน โดยใช้เปลือกรากของฝ้ายมาสับให้ละเอียดจนได้ปริมาณ 8 กรัม จากนั้นนำไปชงในน้ำเดือดครึ่งลิตร หรือประมาณ 4 ถ้วยแก้ว แล้วรับประทานขับประจำเดือนครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว

9.เทียนบ้าน

เทียนบ้านหรือในชื่อเรียกว่าเทียนขาว เทียนไทย เทียนสวน เมื่อนำเมล็ดมาบดเป็นผงละเอียดแล้วผสมตังกุย 10 กรัม ใส่น้ำผึ้งไปหน่อยให้พอเป็นเป็นยาเม็ดได้ ก็จะได้ยาสมุนไพรขับประจำเดือนไว้กินครั้งละ 3 กรัม วันละ 3 เวลา

อย่างไรก็ดี การใช้สมุนไพรรักษาหรือบรรเทาโรคก็ควรปรึกษาแพทย์อีกครั้งว่าสามารถใช้ได้ไหม เพราะแม้สมุนไพรจะมีสรรพคุณดีจริง แต่ก็ควรเลือกใช้อย่างระมัดระวังและปรุงให้ถูกตำรับ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดผลข้างเคียงหรือผลเสียที่ก่อให้เกิดอันตรายได้นะคะ

แต่ถ้าสาว ๆ ไม่อยากยุ่งยากต้องไปหาสมุนไพรแต่ละอย่างมาบำรุงขับประจำเดือนล่ะก็ ทางเรามีสิ่งดีๆ มาฝาก คือการทาน “ยาสตรี“ นะคะ เพราะยาสตรีมีสมุนไพรรวมอยู่หลายชนิดที่คิดค้นมาแล้วว่าการปรุงเหมาะสมและลงตัวแล้วจริง ๆ ค่ะ “ยาสตรี” จะช่วยแก้ไขปัญหาที่สาวๆ กำลังเผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นตัวยาที่มาจากสมุนไพรธรรมชาติ ช่วยตอบโจทย์ปัญหาของผู้หญิง สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นยาฟอกเลือด บำรุงเลือด ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส แต่ถึงอย่างไรนั้นเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ยาสตรีที่เราจะเลือกนั้น สรรพคุณดี มีความน่าเชื่อถือ และไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จริงๆ ไม่ต้องไปเสี่ยงเลือกแล้วนะคะสาวๆ ทางเราขอแนะนำและเลือกมาให้แล้ว คือ ยาสตรีฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง จริงๆ ค่ะ

ยาสตรี
ยาสตรี

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ, สมุนไพรดอทคอม, อมรินทร์ เบบี้ คิดส์
https://health.kapook.com/view42805.html

Categories
สุขภาพผู้หญิง

ฮอร์โมนผิดปกติ เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ฮอร์โมนผิดปกติ เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ชอบใจเวลามีประจำเดือนเพราะต้องระวังรอยเลอะ กลัวกลิ่นอับ และเกิดอาการปวดหน่วงท้องน้อย พอประจำเดือนไม่มาก็ชะล่าใจ คิดว่าเป็นเรื่องปกติแต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะหากปล่อยไว้นานอาจนำไปสู่โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

อาการผิดปกติของประจำเดือน

  • มามาก : จนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยมากกว่าวันละ 4 แผ่น บางรายมีลิ่มเลือดปนด้วย
  • มาน้อย : 35 วันผ่านไปประจำเดือนยังไม่มาสักที
  • มากะปริบกะปรอยหรือมาถี่เกินไป : เช่น ประจำเดือนเพิ่งหมดไป 3 วันก็มีต่อทันที

สาเหตุที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • ตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปจนประจำเดือนขาด
  • ยาคุมกำเนิดบางประเภท ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศในร่างกาย จนกดการทำงานของรังไข่
  • ความเครียด ส่งผลให้ฮอร์โมนผิดปกติ เช่น นักกีฬาที่ต้องซ้อมหนัก ๆ นักศึกษาที่กำลังเตรียมสอบ
  • รังไข่ทำงานผิดปกติ อาจเกิดจากการกินอาหารขยะ อาหารที่ปนเปื้อนสารเร่งการเจริญเติบโตอาหารมัน ๆ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ฯลฯ
  • ฮอร์โมนผิดปกติ ถ้าปล่อยให้ระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนไม่สมดุลกันไปเรื่อย ๆ ฮอร์โมนเพศหญิงจะเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเพศชาย และอาจเกิดปัญหาสิว หน้ามัน ขนดก ฯลฯ ตามมา

การรักษา

  • ประจำเดือนมากเกินไป การขูดมดลูกจะช่วยหยุดเลือดแถมแพทย์ยังได้ชิ้นเนื้อมาตรวจด้วย (แต่ถ้าประจำเดือนมาน้อย แพทย์จะใช้วิธีดูดชิ้นเนื้อมาตรวจแทน)
  • ไข่ไม่ตก แพทย์จะให้กินยาปรับฮอร์โมน 1 – 2 เดือน กระตุ้นให้ไข่ตก ช่วยกรณีมีบุตรยาก
  • คนที่มีเพศสัมพันธ์และไม่พบการตั้งครรภ์ แพทย์จะให้กินยาคุมกำเนิดเพื่อกดการทำงานของรังไข่จนทำให้ประจำเดือนมาปกติ
  • เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความต้องการมีบุตรของคนไข้ ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ อาจใช้การตรวจติดตามขนาดของเนื้องอกทุกเดือนถ้าพบความผิดปกติจะรักษาตามอาการหรืออาจต้องผ่าตัด ขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคน
  • เนื้องอกชนิดร้ายแรงต้องผ่าตัดและต้องการเวลาพักฟื้นกรณีที่เยื่อบุโพรงมดลูกหนามาก แต่ไม่ถึงกับเป็นมะเร็ง แพทย์อาจให้ยารักษาตามอาการ หรืออาจแนะนำให้ตัดมดลูก ขึ้นอยู่กับว่าต้องการมีลูกในอนาคตหรือไม่
  • ถ้าพบสาเหตุเนื้องอกตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ผ่าตัดได้โดยเก็บมดลูกและรังไข่ไว้ แต่ถ้าปล่อยให้เนื้องอกใหญ่ขึ้นจนมีขนาด 10 เซนติเมตรขึ้นไป อาจต้องตัดมดลูก

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับประจำเดือน

  • ดื่มน้ำเย็น : ไม่มีผลกระทบต่อประจำเดือนเพราะร่างกายจะปรับอุณหภูมิของน้ำไปตามกระบวนการย่อยอาหาร ความเย็นของน้ำจึงไปไม่ถึงกระเพาะอาหารหรือมดลูก
  • ประคบร้อน : ถุงน้ำอุ่นลดอาการปวดประจำเดือนได้ ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อมดลูกที่เกร็งตัว แต่ถ้าน้ำร้อนมากเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติเพราะความร้อนจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว

คาถาเรียกประจำเดือน

  • งดหรือปรับลดบุหรี่และแอลกอฮอล์
  • งดอาหารไขมันสูง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ฝึกสมาธิ ปรับอารมณ์ให้สดชื่น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยรักษาระดับฮอร์โมนให้สมดุล

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
https://health.kapook.com/view103608.html

Categories
สุขภาพผู้หญิง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฮอร์โมนของผู้หญิง ที่ผู้ชายควรรู้

หากพูดถึงพฤติกรรมและนิสัยของผู้หญิงก็คงจะต้องพูดถึงเรื่อง ฮอร์โมนของผู้หญิงด้วย เพราะมันเป็นเหตุที่ช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมอารมณ์ของพวกเธอถึงเปลี่ยนแปลงกันบ่อยนัก เช่น ตอนนี้คุณอาจเห็นเธอโมโหหัวฟัดหัวเหวี่ยง แต่อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาก็สามารถนั่งร้องไห้ระหว่างดูหนังที่เธอเคยดูมาแล้วหลายรอบได้ และอีกหลาย ๆ เรื่องที่ทำให้ผู้ชายอย่างเราไม่เข้าใจ ดังนั้นคงจะดีกว่าหากคุณมีโอกาสได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฮอร์โมนของผู้หญิงเพื่อจะได้เข้าใจเธอมากขึ้น

ผู้หญิงไม่ได้มีแค่ฮอร์โมนเอสโตรเจน

คุณอาจเคยได้ยินมาว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนพื้นฐานของเพศหญิง และเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ผู้หญิงมีความแตกต่างจากผู้ชายอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการเจริญเติบโตของหน้าอก กับอวัยวะสืบพันธุ์ แถมยังมีผลกับรอบเดือนและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามฮอร์โมนตัวนี้ไม่ใช่แค่ฮอร์โมนหลักเพียงตัวเดียวแน่นอน เพราะยังมีฮอร์โมนอีก 2 ชนิดที่สำคัญกับพวกเธอไม่แพ้กันนั่นก็คือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเทสโทสเตอโรนนั่นเอง

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน นอกจากจะมีผลกับรอบเดือนแล้ว ยังเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการปรับสมดุลในมดลูกให้พร้อมสำหรับตัวอ่อนเมื่อผู้หญิงเริ่มตั้งครรภ์ โดยการสร้างรกเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของทารก และการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนตัวนี้จะมีผลอย่างยิ่งในช่วงใกล้คลอดกับให้นมลูก นอกจากนี้ ผู้หญิงยังมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเหมือนผู้ชาย เพียงแต่มีในจำนวนที่น้อยกว่า ซึ่งทั้งหมดจะถูกนำมาใช้กับการพัฒนากระดูก กล้ามเนื้อ และเป็นแรงขับทางเพศนั่นเอง

แม้จะมีฮอร์โมนชนิดเดียวกัน แต่ก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน

เมื่อคุณเริ่มออกเดทกับผู้หญิงสักคน และมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับเธอมากพอที่จะสามารถพูดคุยถึงเรื่องส่วนตัวกันได้ คุณก็จะมีโอกาสเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิงมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีคนใกล้ชิดเป็นผู้หญิงหลายคนก็จะรู้ได้ทันทีว่า ถึงแม้ผู้หญิงแต่ละคนจะมีฮอร์โมนชนิดเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะแสดงพฤติกรรมออกมาเหมือนกันเสมอไป เช่น ผู้หญิงคนแรกอาจอารมณ์แปรปรวนมากในระหว่างมีรอบเดือน ขณะที่อีกคนกลับนิ่งเฉยแต่มีพฤติกรรมการกินที่แปลกออกไปจากเดิมเท่านั้น เป็นต้น

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนน่ากลัวกว่าที่คิด

ผู้ชายหลายคนอาจไม่ค่อยใส่ใจเรื่องกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน หรือ Premenstrual Syndrome (PMS) ของผู้หญิงสักเท่าไร รู้แค่ว่าในช่วงนี้อารมณ์ของผู้หญิงจะค่อนข้างแปรปรวนและรุนแรงกว่าปกติเท่านั้นเอง ทั้งที่จริงแล้วในบางคนกลุ่มอาการที่ว่านี้มันส่งผลร้ายมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็น อาการนอนไม่หลับ ปวดหัว ปวดท้อง หรือระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ซึ่งคุณสามารถช่วยได้โดยการให้เธอรับประทานยา หมั่นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับสุขภาพ ชวนไปออกกำลังกาย หรือพาไปพบแพทย์หากเธอเป็นโรคที่เรียกว่า Premenstrual Dysphoric Disorder (PMDD) หรือกลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน

รอบเดือนสามารถเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาได้

แม้ผู้หญิงหลาย ๆ คนจะมีรอบเดือนที่ค่อนข้างชัดเจน สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่า รอบเดือนจะเกิดขึ้นช่วงไหนบ้าง และช่วยในเรื่องของการกำหนดการมีเพศสัมพันธ์ แต่มันก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนเสมอไป เพราะยังมีบางส่วนที่มีรอบเดือนยาวนานกว่าคนอื่น ๆ นอกจากนี้ช่วงเวลาที่มีรอบเดือนของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนก็มาแค่ช่วงสั้น ๆ ประมาณ 4-5 วัน ส่วนบางคนมาเต็ม 1 สัปดาห์เลยก็มี อีกทั้งระยะห่างของรอบเดือนก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ได้แก่ ความเครียด การออกกำลังกาย หรือพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นต้องมียาคุมกำเนิดเข้ามาช่วยยับยั้งการสร้างไข่และควบคุมรอบเดือนด้วยฮอร์โมน เพื่อป้องกันการตั้งท้องขณะที่ยังไม่พร้อม อีกทั้งยังทำให้รอบเดือนเป็นปกติด้วย

ผู้หญิงจะอ่อนแอมากเป็นพิเศษในช่วงตั้งครรภ์

คุณอาจคิดว่า ฮอร์โมนของผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงมากในช่วงเริ่มเข้าสู่วัยสาวหรือระหว่างมีรอบเดือน แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงเมื่อพวกเธอเริ่มตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งในช่วงนี้รกในครรภ์จะผลิตฮอร์โมน เอชจีซี หรือ Human Chorionic Gonadotropin (HcG) ออกมา ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการตรวจการตั้งครรภ์ โดยระดับของฮอร์โมนนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสามเดือนแรก ขณะที่รกกำลังเจริญเติบโต และเป็นที่มาของอาการแพ้ท้องนั่นเอง ที่สำคัญทำให้มีโอกาสเป็นโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนดังกล่าวจะเข้าไปขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขับทารกออกมานั่นเอง

ในช่วงการตั้งครรภ์ทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนก็มีบทบาทไม่น้อย โดยเอสโตรเจนจะเข้าไปกระตุ้นการเจริญเติบโตหน้าอกของผู้หญิง พัฒนาอวัยวะของทารกในครรภ์ อีกทั้งยังทำให้ในช่วงนี้ผู้หญิงเป็นหวัดคัดจมูกและมีผิวที่แพ้ต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย ในขณะที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ช่วยควบคุมการทำงานและขยายรังไข่ ก็มีผลทำให้พวกเธอรู้สึกจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด เพราะอาหารไม่ย่อยด้วยเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ผู้หญิงบางคนก็โชคดีที่ไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมนในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ และถึงจะเป็นอย่างนั้นผู้หญิงอีกส่วนก็ต้องมีหนึ่งในอาการที่ว่ามาอยู่ดี เพราะฮอร์โมนเอชจีซีก็ทำให้ร่างกายของผู้หญิงอ่อนแอลง เลยมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

ผู้ชายก็มีฮอร์โมนของผู้หญิงด้วยเหมือนกัน

อย่างที่รู้กันว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับผู้หญิงโดยตรง แต่ทั้งนี้ร่างกายของผู้ชายเองก็มีฮอร์โมนเพศหญิงปะปนอยู่ด้วยเหมือนกัน เพียงแต่มีปริมาณเล็กน้อย โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนถูกผลิตขึ้นจากเอนไซม์อะโรมาโทส (Aromatose) ที่อยู่ในฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งมีส่วนในการสร้างระบบสืบพันธุ์ และส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ชายด้วย พร้อมกันนี้ฮอร์โมนดังกล่าวยังจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนอายุ ซึ่งสวนทางกับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ค่อย ๆ ลดลง

ถ้าฮอร์โมนเอสโตรเจนของผู้ชายไม่สมดุลก็จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา บางครั้งก็ทำให้อ้วนขึ้น เพราะเอสโตรเจนสามารถสร้างได้ในไขมัน และไขมันนี้ก็เกาะอยู่ทั่วไปในร่างกาย นอกจากนี้โรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน มะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคหัวใจวาย ก็มีผลต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วยเช่นกัน ดังนั้นการรักษาระดับฮอร์โมนให้อยู่สมดุลจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งสิ่งที่จะช่วยจัดสมดุลได้ก็คือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน นั่นเอง

การหมดรอบเดือนไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียว

ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า วัยหมดประจำเดือน เป็นวัยที่ผู้หญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หลังจากที่ขาดรอบเดือนไปเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งการหมดรอบเดือนนั้นส่งผลกระทบกับพวกเธอหลายด้านทีเดียว เนื่องจากในช่วงนี้ฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโปรเจสเทอโรนเริ่มเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกมากโดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ซึ่งที่กล่าวมานี้จะเริ่มส่งสัญญาณตั้งแต่ช่วงปลายอายุ 30 จนถึงต้น 40 ปี ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจหากเห็นผู้หญิงในวัยนี้รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวหรืออ่อนเพลียง่ายบ่อย ซึ่งคุณผู้ชายสามารถดูแลได้โดยการพาเธอไปพบแพทย์ หรือนำสมุนไพรมาช่วยบรรเทาอาการ

ระดับของฮอร์โมนมีผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก

ผู้หญิงเองก็ต้องรักษาสมดุลของฮอร์โมนด้วยเช่นกัน เพราะหากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยหรือมากเกินไป ก็จะนำไปสู่ปัญหาเรื่องสุขภาพที่ร้ายแรงได้ หากร่างกายมีฮอร์โมนดังกล่าวต่ำเกินไป ก็จะส่งผลให้มวลกระดูกลดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนและแตกหักง่าย และยังเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เมื่อปริมาณคอเรสเตอรอลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน ส่วนผู้หญิงบางคนก็อาจเจอกับภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัยอันควรได้เหมือนกัน รวมถึงอาจเป็นมะเร็งเต้านมได้ด้วย

ฮอร์โมนเปลี่ยน ความรู้สึกก็เปลี่ยน

เนื่องจากฮอร์โมนมีความเกี่ยวข้องกับเพศโดยตรง เมื่อฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ความรู้สึกกับอารมณ์ของผู้หญิงก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น หากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง แรงขับทางเพศก็น้อยลงเหมือนกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสุขภาพ การใช้ยา หรือนิสัยส่วนตัว เช่น ติดยาเสพติดหรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นต้น

ฮอร์โมนไม่ได้ควบคุมชีวิตทั้งหมดของผู้หญิง

หลังจากที่ได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับฮอร์โมนของผู้หญิงไปแล้ว คุณอาจคิดว่าชีวิตพวกเธอถูกควบคุมด้วยฮอร์โมน นับตั้งแต่เห็นว่าฮอร์โมนมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงของผู้หญิง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเธอจะไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองหรือควบคุมอารมณ์ได้เลยซะทีเดียว เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่มีผลต่อพฤติกรรม อารมณ์ และความรู้สึกของพวกเธอ

เหตุผลที่เรานำเรื่องเกี่ยวกับฮอร์โมนของผู้หญิงมาฝากกันในวันนี้ ก็เพื่อให้ผู้ชายเข้าใจผู้หญิงมากขึ้น ทั้งการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ความรู้สึก อารมณ์ และนิสัย เพื่อที่จะได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ช่วยลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตค่ะ

เคล็ด (ไม่ลับ) แนะนำเพิ่มเติม

สำหรับสาวๆ ที่ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือปวดประจำเดือนบ่อยๆ มีอาการตกขาวมามาก หรืออยากผิวพรรณผ่องใส ทางเรามีสิ่งดีๆ มาฝาก คือการทาน “ยาสตรี

ยาสตรี” จะช่วยแก้ไขปัญหาที่สาวๆ กำลังเผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นตัวยาที่มาจากสมุนไพรธรรมชาติ ช่วยตอบโจทย์ปัญหาของผู้หญิง สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นยาฟอกเลือด บำรุงเลือด ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส แต่ถึงอย่างไรนั้นเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ยาสตรีที่เราจะเลือกนั้น สรรพคุณดี มีความน่าเชื่อถือ และไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จริงๆ ไม่ต้องไปเสี่ยงเลือกแล้วนะคะสาวๆ ทางเราขอแนะนำและเลือกมาให้แล้ว คือ ยาสตรีฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง จริงๆ ค่ะ

ยาสตรี
ยาสตรี

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
https://men.kapook.com/view88208.html

Categories
สุขภาพผู้หญิง

ข้อดีของการไม่กำจัดขนน้องสาว ที่ผู้หญิงควรรู้

ข้อดีของการไม่โกนขนน้องสาว หรือ จุดซ่อนเร้น ดีอย่างไร สำหรับสาวๆ ที่กำลังสงสัยว่าขนจุดซ่อนเร้นมีประโยชน์อย่างไร ควรต้องปล่อยไว้ หรือกำจัดให้เนียนกริบกันแน่ เราจะพาไปไขข้อสงสัยเหล่านี้กัน

การที่มีขนขึ้นตามร่างกายสำหรับหนุ่มๆ อาจจะมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับสาวๆ กลับมองว่าขนเหล่านั้นควรถูกกำจัดออกไปให้เนียนกริบ โดยเฉพาะขนรักแร้ และขนขา เพราะหากปล่อยไว้ก็มีแต่จะทำให้เราเสียความมั่นใจเวลาใส่เสื้อผ้าที่ต้องอวดผิว รวมไปถึงการกำจัดขนบริเวณจุดซ่อนเร้น ไม่ว่าจะด้วยวิธีโกน เลเซอร์ หรือแว็กซ์ขนจุดซ่อนเร้น ซึ่งทำให้น้องสาวของคุณเรียบเนียน และมีความมั่นใจมากขึ้นเวลาใส่บิกินี่ ก็เป็นจุดที่ได้รับความนิยมจากสาวๆ เช่นกัน

แต่สาวๆ รู้หรือไม่ว่าขนน้องสาวนั้นมีความสำคัญมากกว่าที่คิด และอย่าเพิ่งรีบร้อนตัดสินใจไปกำจัดออกจนกว่าจะได้รู้ข้อดีของขนน้องสาวที่นำมาฝากในวันนี้ ว่าแล้วจะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันก่อนเลย

ข้อดีของการไม่โกนขนน้องสาว

1.ช่วยลดการเสียดสีระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศเป็นจุดที่บอบบาง และอ่อนไหวมาก โดยขนน้องสาวจะเป็นตัวช่วยลดแรงเสียดทาน หรือแรงกระแทกที่เกิดขึ้นระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้ ทำให้อวัยวะเพศของเราไม่เกิดการฟกช้ำ หรือระบมหลังจากเสร็จกิจ

2.ช่วยป้องกันเชื้อโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

ขนน้องสาวสามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคหูดข้าวสุก, เริม, เนื้ออักเสบ และโคนขนอักเสบ เป็นต้น อีกทั้งยังมีวิจัยทางการแพทย์ออกมาบอกว่าการโกนขน หรือการกำจัดขนด้วยวิธีอื่นๆ จะทำให้เกิดบาดแผลเล็กๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย

3.ป้องกันการไวต่อความรู้สึก

เวลาที่สาวๆ นั่ง หรือมีอะไรมาสัมผัสที่บริเวณอวัยวะเพศ ขนน้องสาวจะช่วยรับสัมผัสนั้นแทนที่จะโดนอวัยวะเพศของเราโดยตรง ซึ่งช่วยลดการไวต่อความรู้สึกได้เป็นอย่างดี

4.ช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้

นอกจากจะช่วยป้องกันอวัยวะเพศของเราจากอันตรายต่างๆ แล้ว ขนน้องสาวยังช่วยกักเก็บกลิ่นอับชื้น หรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นประจำเดือน ไม่ให้เล็ดลอดออกมาทำให้สาวๆ เสียเซลฟ์ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยดูดซับเหงื่อได้อีกด้วย

5.ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

อย่างที่รู้กันดีว่าสัตว์ในเขตเมืองหนาวจะมีขนฟูมากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น เช่นเดียวกับขนน้องสาวที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิบริเวณอวัยวะเพศให้อบอุ่นอยู่เสมอ

6.ช่วยดูดซับฟีโรโมน

โดยปกติแล้วฟีโรโมนของมนุษย์จะถูกหลั่งออกจากร่างกายทางบริเวณรักแร้ หัวนม และอวัยวะเพศ ดังนั้น ข้อดีของขนน้องสาวก็คือจะช่วยกักเก็บฟีโรโมนที่หลั่งออกมาจากอวัยวะเพศให้อยู่ได้นานขึ้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มเสน่ห์ดึงดูดต่อเพศตรงข้าม

เมื่อรู้ประโยชน์ของขนน้องสาวแบบนี้แล้ว เชื่อว่าตอนนี้สาวๆ หลายคนคงจะเปลี่ยนความคิดที่จะกำจัดขนน้องสาวทิ้งกันแล้วแน่ๆ แต่ถึงอย่างไรก็ต้องรักษาความสะอาดบริเวณจุดซ่อนเร้นให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อจะได้มีสุขอนามัยที่ดีด้วยนะคะ

เคล็ด (ไม่ลับ) แนะนำเพิ่มเติม

ยาสตรี
ยาสตรี

สำหรับสาวๆ ที่ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือปวดประจำเดือนบ่อยๆ มีอาการตกขาว หรืออยากผิวพรรณผ่องใส ทางเรามีสิ่งดีๆ มาฝาก คือการทาน “ยาสตรี

“ยาสตรี” จะช่วยแก้ไขปัญหาที่สาวๆ กำลังเผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นตัวยาที่มาจากสมุนไพรธรรมชาติ ช่วยตอบโจทย์ปัญหาของผู้หญิง สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นยาฟอกเลือด บำรุงเลือด ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส แต่ถึงอย่างไรนั้นเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ยาสตรีที่เราจะเลือกนั้น สรรพคุณดี มีความน่าเชื่อถือ และไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จริงๆ ไม่ต้องไปเสี่ยงเลือกแล้วนะคะสาวๆ ทางเราขอแนะนำและเลือกมาให้แล้ว คือ ยาสตรีฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง จริงๆ ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
เฟซบุ๊ก ใกล้หมอจิ๋ม, littlethings.com
https://women.kapook.com/view232459.html#lead:related:6Ya7JB3478zk5Vbbhvjka4:1:https://women.kapook.com/view205803.html

Categories
สุขภาพผู้หญิง

ผิดปกติหรือไม่? ประจำเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือน

ประจำเดือนของสาวๆ ส่วนใหญ่จะมาแค่เดือนละครั้ง แต่จู่ๆ ก็มีเลือดคล้ายประจำเดือนไหลออกมาอีกครั้ง ลักษณะเหมือนเป็นประจำเดือน 2 ครั้งต่อเดือน ผิดปกติหรือไม่? การที่ประจำเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือน ถือเป็นความผิดปกติของร่างกาย ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

1.ฮอร์โมนไม่คงที่

สำหรับวัยรุ่นที่เพิ่งจะเป็นประจำเดือนในช่วงแรก ๆ ร่างกายอาจยังผลิตฮอร์โมนและรังไข่ยังมีการตกไข่ที่ไม่เต็มที่ ดังนั้นก็อาจทำให้ประจำเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือน หรือมีภาวะประจำเดือนผิดปกติได้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป 1-2 ปี ฮอร์โมนและการตกไข่จะเริ่มคงที่ อาการประจำเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือน หรืออาการประจำเดือนมาไม่ปกติก็น่าจะหายไป หากยังคงเป็นประจำเดือน 2 รอบต่อเดือน หรือยังคงมีอาการประจำเดือนผิดปกติในช่วงปีที่ 4-5 ตั้งแต่เป็นประจำเดือนครั้งแรก ก็ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป

2.ระยะรอบเดือนสั้น

ปกติแล้วผู้หญิงจะมีระยะรอบเดือนประมาณ 21-35 วัน หรือ 28 วันโดยเฉลี่ย แต่ในบางคนอาจมีระยะรอบเดือนสั้นกว่านั้น คือ 14-15 วัน ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ที่รอบเดือนจะมา 2 ครั้ง ใน 1 เดือน ซึ่งถ้ารอบเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือนโดยไม่มีอาการผิดปกติอะไร เช่น ปวดท้องหนักมาก ประจำเดือนมามาก(เปลี่ยนผ้าอนามัยเกิน 5 แผ่นต่อวัน) ก็ถือว่าไม่ผิดปกติ

3.ไข่ไม่ตก

ภาวะไข่ไม่ตกจะส่งผลให้ร่างกายไม่สร้างฮอร์โมนเพศมาเปลี่ยนผนังเยื่อบุมดลูก ทำให้เยื่อบุมดลูกลอกออกมาเป็นประจำเดือนได้ไม่หมดในครั้งเดียวเลือดประจำเดือนซึ่งมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวก็จะไหลออกมา 2 ครั้งใน 1 เดือนได้ โดยจะห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งช่วงที่เยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวจะมีเลือดออกมาเล็กน้อย ประมาณ 1-2 วัน แต่ไม่ถือว่าผิดปกติ สาเหตุที่ไข่ไม่ตกอาจจะมาจากภาวะเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอหรือภาวะอ้วนเกินไป ผอมเกินไป ออกกำลังกายหนักมากเกินไป ก็เป็นปัจจัยทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติจนส่งผลให้ไข่ไม่ตกนั่นเอง

4.วัยทอง

ไม่ใช่แค่ช่วงวัยรุ่นเท่านั้นที่ฮอร์โมนยังไม่คงที่ แต่ผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนก็มีภาวะฮอร์โมนแกว่ง ๆ เหมือนกัน โดยจะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเพศถูกผลิตน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการมีประจำเดือนได้ โดยอาจทำให้ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมามาก หรือประจำเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือนก็ได้

5.ยาเม็ดคุมกำเนิด

สำหรับคนที่กินยาคุมกำเนิดแผงแรก อาจมีอาการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือบางคนอาจมีภาวะฮอร์โมนไม่คงที่ จนทำให้เป็นประจำเดือน 2 ครั้งต่อเดือนได้ หรือคนที่กินยาคุมฉุกเฉินก็อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่าอาการเลือดออกผิดปกติของเราอันตรายไหม

6.ความผิดปกติภายในของผู้หญิง

การที่มีเลือดออกผิดปกติ อย่างเป็นประจำเดือน 2 ครั้งต่อเดือน อาจเกิดจากเยื่อบุมดลูกผิดปกติ ปากมดลูกอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ ภาวะท้องนอกมดลูกแท้งบุตร เนื้องอก หรือมะเร็งก็เป็นได้ โดยสาว ๆ ควรจะสังเกตอาการเลือดออกผิดปกติของตัวเองให้ดี หากเลือดที่ออกมาจากช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นมากมีอาการเจ็บที่ปากมดลูกร่วมด้วย เป็นประจำเดือนนานเกิน 7 วัน หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เคสดังที่กล่าวมาควรไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโดยเร็วที่สุด

อย่างไรก็ตาม หากสาวๆ คนไหนมีประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนไม่มา แอดมินขอแนะนำไอเท็มดีๆ คือ กิน “ยาสตรี” นะคะ “ยาสตรี” ที่และนำที่แอดมินกินเป็นประจำก็คือ ยาสตรีฟลอร่า เพราะเห็นผลชัดเจนทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แถมยังไม่ปวดประจำเดือนและผิวใสขึ้นอีกด้วยค่ะ และควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา จะได้ความสบายใจ สุขภาพร่างกายแข็งแรงนะคะ

ยาสตรี
ยาสตรี

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
รายการรั้วรอบครอบครัว โดยรศ.ร.อ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธ ร.น. facebook/PPATBANGKOK
https://ppat.or.th/ประจำเดือนมา-2-ครั้งต่อเ/

Categories
สุขภาพผู้หญิง

ประจำเดือนขาด ทำอย่างไรดีนะ?

  • ผ่อนคลาย ไม่เครียด ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประจำเดือนขาดได้ ควรพยายามทำร่างกาย และจิตใจให้ผ่อนคลาย อาจจะไปเที่ยว ทำงานน้อยลง ทำจิตใจให้สบาย ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย

  • หมั่นสังเกตร่างกาย เมื่อประจำเดือนเริ่มหายไปแม้เพียงเดือนเดียว ควรเริ่มจดบันทึกเพื่อดูว่าประจำเดือนหายไป หรือแค่มาช้ากว่ากำหนด และคอยสังเกตความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีน้ำนมไหลออกมาทั้งที่ไม่ตั้งครรภ์หรือไม่ มีอาการปวดท้องผิดปกติ มีขน มีหนวดขึ้นผิดปกติ หรือไม่

  • ไม่หักโหมออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายด้วยความเหมาะสม ไม่ออกกำลังกายหนัก หรือมากเกินไป โดยเฉพาะหากเป็นผู้หญิงที่ผอม มีไขมันน้อย อาจจะเน้นการออกกำลังกายที่เน้นการเพิ่มกล้ามเนื้อ แทนการออกกำลังกายที่ออกแรงเยอะ ๆ เพื่อลดไขมัน เช่น อาจจะโยคะ แทนการวิ่ง

  • ควบคุมน้ำหนัก ให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ไม่อ้วนไป หรือผอมไป หากรู้ตัวว่าผอม หรือมีสัดส่วนไขมันในร่างกายน้อย ควรรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนัก เน้นอาหารที่เพิ่มไขมันดี หรือหากน้ำหนักตัวเยอะ อาจจะค่อย ๆ ลดน้ำหนัก แต่ไม่ควรอดอาหาร หรือลดน้ำหนักเร็วเกินไป

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ รับประทานให้ครบ 3 มื้อ และ เน้นอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาจจะเน้นอาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม เพิ่มขึ้น

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น

  • พบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย นอกจากการปรับพฤติกรรมแล้ว หากประจำเดือดขาดหายไป ควรไปพบแพทย์ หรือ สูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่ประจำเดือนหายไป ว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ เพื่อตรวจรักษา โดยแพทย์จะซักประวัติ ตรวจภายใน อัลตราซาวด์ ตรวจดูระดับฮอร์โมน ฯลฯ

ประจำเดือนขาด ควรรักษาอย่างไร?

การรักษา ภาวะประจำเดือนขาด นั้น รักษาได้หลายวิธี โดยต้องหาสาเหตุให้พบว่าเกิดจากอะไรกันแน่ เช่น

1.กินยาฮอร์โมนเสริม หากเกิดจากสาเหตุเช่น ผอมเกินไป อ้วนเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ไม่ใช่ความผิดปกติหรือเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ เบื้องต้นเพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ คุณหมออาจจ่ายยาฮอร์โมน ซึ่งเป็นตัวยาเดียวกับยาเลื่อนประจำเดือนที่เราคุ้นเคย ซึ่งเมื่อกินยาแล้ว จะทำให้ประจำเดือนมาได้ โดยอาจให้กินยาเป็นประจำในช่วงเดียวกันของทุก ๆ เดือน ประมาณ 6 เดือน เพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ ให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมา และหลังจากนั้นให้ลองดูว่าประจำเดือนมาได้เองโดยไม่จำเป็นต้องกินยาหรือไม่

2.กินยาคุมกำเนิด หากมีความผิดปกติ เช่น ถุงน้ำรังไข่หลายใบ แพทย์อาจจ่ายยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยรักษาอาการ

3.รักษาอาการป่วยอื่น ๆ หากตรวจวินิจฉัยแล้ว พบว่าการขาดหายไปของประจำเดือนเกิดจากความผิดปกติ เช่น เนื้องอกต่อมใต้สมอง มีมดลูกผิดปกติ ก็รักษาโรค หรือ อาการเจ็บป่วยนั้น ๆ เมื่อรักษาหายแล้ว ประจำเดือนก็จะกลับมาได้ตามปกติ

ยาสตรี
ยาสตรี

4.กิน “ยาสตรี สามารถช่วยรักษาอาการประจำเดือนขาด ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ เพราะ “ยาสตรี” มีสรรพคุณเป็นยาฟอกเลือด บำรุงธาตุ บำรุงเลือด ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส ยาสตรีฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง ค่ะ

อาการประจำเดือนขาด ในลักษณะใดที่ควรไปพบแพทย์ทันที

สำหรับการขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่มา 1 เดือน อาจจะไม่มีสาเหตุให้ต้องกังวลมากนัก อาจเกิดจากความเครียด การออกกำลังกายมากเกินไป หรือกินอาหารไม่เพียงพอ แต่หากขาดประจำเดือนนานกว่านั้น หรือขาดประจำเดือน 3 รอบขึ้นไปโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่ได้เกิดจากอาการเจ็บป่วยใดๆ ที่ทราบอยู่แล้ว หรือเกิดการตั้งครรภ์ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ก รวมถึงมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

  • ปวดศีรษะ
  • การมองเห็นเปลี่ยนไป มองไม่ชัด ตาพร่า
  • มีไข้
  • ผมร่วง
  • อาเจียน
  • หน้าอกเปลี่ยนแปลง หรือมีการผลิตน้ำนม

นอกจากนี้หากมีลักษณะที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติอื่นๆ ทำให้ประจำเดือนไม่มาควรไปพบแพทย์ทันที คือ เด็กผู้หญิงที่อายุประมาณ 13-15 ปีและเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วแต่ประจำเดือนไม่มา โดยไม่มีการพัฒนาทางร่างกายร่วมด้วย เช่น หน้าอกไม่ขยาย ไม่มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/missed-period.html
https://www.sanook.com/health/19449/

Categories
สุขภาพผู้หญิง

สาวๆ ควรรู้ไว้ ความรู้เกี่ยวกับ ประจำเดือน

1.ปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น คืออายุประมาณ 12-13 ปี แต่ก็เคยพบว่าเด็กผู้หญิงอายุ 8 ปีก็มีประจำเดือนแล้ว และในปัจจุบันเด็กผู้หญิงจะมีแนวโน้วการมีประจำเดือนในอายุที่น้อยลง

2.ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีประจำเดือนเร็ว คือ โรคอ้วน

3.ในช่วง 2 ปีแรกของการมีประจำเดือน มักจะมีมาไม่สม่ำเสมอ เพราะการผลิตฮอร์โมนที่ยังไม่สมดุล

4.โดยปกติแล้ว ประจำเดือนจะมีทุกๆ 28 วัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับอายุด้วย ถ้าอายุยังไม่ถึง 21 ปี มักจะมีระยะห่างประมาณ 33 วัน พออายุ 21 ปีขึ้นไปมักจะมีระยะห่าง 28 วัน และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีระยะห่างลดลง คือประมาณ 26 วัน

5.ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเฉลี่ยคือ 6 วัน โดยพบว่า มีผู้หญิงประมาณ 5% ที่มีประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน

6.หากมีประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน จะเรียกว่า ประจำเดือนมามาก

7.ผู้หญิง 9-14% จะมีประจำเดือนมามาก คือมามากกว่า 7 วัน

8.ถ้าหากประจำเดือนมานานเกิน 8 วัน จะถือว่ามามากผิดปกติ ซึ่งเกิดในผู้หญิงราว 4%

9.สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามาก มักเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล จึงเกิดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไปหรือหนาเกินไป ทำให้กระบวนการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อกลายเป็นเลือดประจำเดือนมากตามไปด้วยนั่นเอง

10.ประจำเดือนมามากผิดปกติ อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาฮอร์โมน การให้เคมีบำบัด การใส่ห่วงคุมกำเนิด ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด หรือการกินยาคุมกำเนิด

11.ประจำเดือนมามากและหลายวันเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ อาการที่เด่นชัดคือ เพลีย เหนื่อยง่าย มีเสียงในหู ใจสั่น

12.ผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือนมักจะมีฮอร์โมนเอสโตเจนต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต การได้รับฮอร์โมนจะช่วยได้

13.เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป หรือใกล้เข้าวัยทอง แทนที่ประจำเดือนจะมาน้อยลงกลับมามากกว่าปกติ

14.อาการปวดประจำเดือน เกิดจากมดลูกมีการบีบตัวและคลายตัวอย่างแรงเพื่อไล่เลือดที่อยู่ในมดลูกออกมา

15.การปวดท้องอาจจะปวดก่อนมีประจำเดือนหลายวัน เมื่อประจำเดือนมาแล้วอาการปวดจะดีขึ้นได้เอง

16.ผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนมาก หรือประจำเดือนมาผิดปกติบ่อยๆ อาจจะมีเนื้องอกในมดลูก และเป็นหมัน

17.ผู้หญิงราว 10-15% จะมีอาการปวดประจำเดือนมากจนถึงขั้นต้องหยุดงาน

18.ยาที่นิยมใช้บรรเทาปวดประจำเดือนได้แก่ aspirin, ibuprofen

19.ความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนที่พบบ่อยๆ คือ ไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่มา และประจำเดือนมามากเกินไป

20.หากประจำเดือนมามากเกินไป อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ จึงควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจดูช่องคลอด ปากมดลูก ว่ามีก้อน แผล หรือติ่งเนื้อหรือไม่ ทำการเก็บเซลล์จากปากมดลูกเพื่อตรวจว่าติดเชื้อหรือมีการอักเสบหรือไม่ แพทย์จะคลำตรวจมดลูกและรังไข่ว่ามีขนาดปกติหรือไม่ กดแล้วเจ็บไหม หรือพบก้อนผิดปกติหรือเปล่า

เพราะมดลูกมีความเกี่ยวโยงกับประจำเดือน หากเกิดความผิดปกติขึ้นที่มดลูก ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมะเร็งบางประเภท เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ ประจำเดือนก็จะผิดปกติไปด้วย ดังนั้น หากมีประจำเดือนมามากผิดปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือมาๆ หายๆ รวมถึงอาการปวดประจำเดือนที่มากขึ้น หรือมีตกขาวมามาก เราขอแนะนำไอเท็มดีๆ อย่างเช่น “ยาสตรี” ฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง เป็น “ยาสตรี” ที่แอดมินทานตลอดและเห็นผลชัดเจนค่ะ และควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไปนะคะ

ยาสตรี
ยาสตรี

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
https://www.paolohospital.com/th-TH/center

Categories
สุขภาพผู้หญิง

เคล็ดลับสำหรับสาวๆ เพื่อมดลูกที่แข็งแรง

10 Tips สำหรับผู้หญิง เพื่อ “มดลูก” ที่แข็งแรง

สำหรับผู้หญิงแล้ว คงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าอวัยวะภายในอย่างมดลูก เพราะหากมดลูกไม่แข็งแรง นอกจากจะบั่นทอนสุขภาพกายของตัวเองแล้ว ยังบั่นทอนถึงอารมณ์ถายในจิตใจด้วย

หากถามว่า แล้วคุณผู้หญิงจะดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้เราก็มีเคล็ดลับเพื่อมดลูกแข็งแรงมากฝากกันค่ะ

10 เคล็ดลับสำหรับสาวๆ เพื่อมดลูกที่แข็งแรง

1.ดูแลสุขภาพใจให้แข็งแรง

สุขภาพใจเป็นเรื่องสำคัญสุดของร่างกายค่ะ เพราะสุขภาพใจจะมีผลไปถึงสุขภาพกาย โดยเฉพาะความเครียด ที่ทำให้มดลูกไม่ปกติ เพราะระบบฮอร์โมนผิดปกติ ประจำเดือนจึงมาไม่ปกติ การลดความเครียดมีหลายวิธี เช่น รู้จักปลงตก มองโลกในแง่บวก หัวเราะทุกวัน ใช้ชีวิตพอเพียง ประหยัด พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ให้อภัยผู้อื่น มีจุดมุ่งหมายในชีวิต รวมถึงการออกกำลังกายด้วย

2.ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

มดลูกคืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย หากร่างกายแข็งแรง โลหิตจะไหลเวียนไปเลี้ยงได้เต็มที่ ทำให้มดลูกแข็งแรง การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เช่น

  • ดูแลน้ำหนักตัวให้ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ผอมแห้งหรืออ้วนฉุเกินไป
  • นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยคืนละ 6 – 8 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้
  • ดื่มน้ำสะอาดวันละ 30 – 40 ซีซี ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • งดการดื่มเหล้า สูบบุหรี่

3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ทำให้ภูมิต้านทานดี กล้ามเนื้อหัวใจและปอดแข็งแรง สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดี ช่วยป้องกันมดลูกอักเสบและมดลูกต่ำ ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ จ๊อกกิ้ง เต้นแอโรบิก โยคะ เป็นต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน ครั้งและประมาณครึ่งชั่วโมง

4.ระวังการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดอาการตกขาว ปวดท้องน้อย มีไข้ มดลูกอักเสบ แม้รักษาหายก็ยังมีอาการปวดมดลูก ปวดประจำเดือน มีตกขาวเรื้อรัง ไข้ทับระดู ไม่ตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้มดลูกดี ดังนั้นควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งกับคนที่ไม่รู้จักไม่รู้ใจหรือไม่แน่ใจ

5.ระวังการติดเชื้อโรคทั่วไป

การติดเชื้อโรคทั่วไปทำให้เกิดอาการมดลูกอักเสบได้ เชื้อโรคทั่วไปนั้นมักปนเปื้อนอยู่กับอุจจาระ ระวังการทำความสะอาด โดยล้างจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง เพื่อไม่ให้เชื้อโรคทางทวารหนักมาทำให้ชิ่งคลอดและมดลูกติดเชื้อ

6.ขมิบเพื่อบริหารอุ้มเชิงกรางอย่างสม่ำเสมอ

การขมิบคือ การเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (เหมือนการกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ) วิธีการคือ ให้เกร็งค้างไว้ นับ 1 5 แล้วผ่อนคลาย อาจทำต่อเนื่องกันหรือแบ่งเป็นครั้งละ 20 – 30 ชุดก็ได้ จะทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง และมดลูกไม่ต่ำ

7.ไม่ยกของหนัก

การยกของหนักทำให้มดลูกต่ำ กระเพราะปัสสาวะกระทบกระเทือน หากจำเป็นต้องยกของหนักควรปัสสาวะก่อน

8.ตรวจร่างกายเป็นประจำ

แม้ว่าเราจะแข็งแรง ก็ควรตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ เพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มแรก โรคภัยไข้เจ็บมีผลต่อมดลูกไม่มากก็น้อย เช่น โรคเบาหวาน อาจทำให้มดลูกอักเสบ ติดเชื้อ เป็นเชื้อรา และโรคเรื้อรังอื่น ๆ อย่างความดันโลหิดสูง โรคไทรอยด์ โรคตับ โรคไต อาจทำให้มีการตกเลือด ประจำเดือนมามากหรือกะปริบกะปรอย

9.ตรวจภายในเป็นประจำตามกำหนดและตรวจทุกครั้งที่พบความผิดปกติ

ความผิดปกติที่ว่าได้แก่ ตกขาวผิดปกติ (มามาก มีสี มีกลิ่น) มีเลือดออกผิดปกติ (กะปริบกะปรอย ประจำเดือนมามาก มานาน) ปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือน เป็นต้น การตรวจภายในสามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาการอักเสบ ติดเชื้อในช่องคลอด ปากมดลูก จนทำให้มดลูกไม่ดีได้ ทั้งยังสามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการผิดปกติของมดลูกได้แต่เนิ่น ๆ เช่น เนื้องอกธรรมดาของโพรงมดลูก เนื้องอกธรรมดาของมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ก่อนลงเอยด้วยการตัดมดลูก

10.รับประทานยาสตรี

บำรุงมดลูกให้แข็งแรงได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานยาสตรี การรับประทานยาสตรีสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการบำรุงให้มดลูกแข็งแรงได้ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ขับน้ำคาวปลาคุณแม่หลังคลอดได้ ผู้หญิงประจำเดือนไม่มา ยาสตรีฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง จริงๆ ค่ะ

ยาสตรี
ยาสตรี