ปวดหลังช่วงมีประจำเดือน แบบไหนผิดปกติ? รีบเช็กก่อนจะสาย
ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนเป็นประจำ บางทีปวดบั้นเอวตอนมีประจำเดือนร่วมด้วย และอาการปวดหลังก็ดูเหมือนจะปวดมาก จำเป็นแล้วล่ะที่ต้องเช็กว่าปวดหลังประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติ
อาการปวดเมื่อยก่อน ขณะ หรือหลังมีประจำเดือนเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนเป็นเรื่องปกติค่ะ บางคนมีอาการปวดท้องมากร่วมด้วยอีกต่างหาก ซึ่งก็เป็นอาการ PMS โดยทั่วไป แต่ถึงกระนั้นอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน ในบางกรณีก็น่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย งั้นสาว ๆ ลองมาเช็กกันหน่อยว่าปวดหลังช่วงมีประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติบ้าง
ปวดหลังช่วงมีประจำเดือน เป็นเพราะอะไร?
สาเหตุที่ทำให้สาว ๆ มีอาการปวดหลังก่อนหรือขณะเป็นประจำเดือน ก็เกิดจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (Prostagiandins) ซึ่งเจ้าสารตัวนี้จะทำให้หลอดเลือดหดตัวและส่งผลให้กล้ามเนื้อบีบตัวไปพร้อม ๆ กัน เพื่อไล่ประจำเดือนออกมาจากร่างกาย ดังนั้นผู้หญิงบางคนจึงมีอาการ PMS หงุดหงิดง่าย ปวดหัว ปวดเมื่อย รวมทั้งเกิดอาการปวดประจำเดือนทั้งที่ท้อง และมีอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนได้ แต่ทั้งนี้อาการปวดประจำเดือนดังกล่าวมักจะเป็นในช่วง 1-2 วันก่อนหรือขณะเป็นประจำเดือนเท่านั้น
ปวดหลังช่วงมีประจำเดือน แบบไหนผิดปกติ
อาการ PMS หรืออาการก่อนมีประจำเดือน เป็นสิ่งที่ทรมานผู้หญิงทุกคนเป็นปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วเราเองจะรู้สึกได้ถึงอาการปวดประจำเดือนที่เป็นอยู่ว่ามาก-น้อยขนาดไหน ทว่าในเคสที่มีอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนมาก ๆ ร่วมกับอาการเหล่านี้ถือว่าผิดปกติ และควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์โดยด่วน
- มีอาการปวดหลัง ลามมาที่เอว เชิงกราน ก้นกบ และร้าวลงขา
- ปวดหลัง ปวดท้อง ในช่วงมีประจำเดือนมาก และเป็นการปวดหนัก ๆ ครั้งแรก ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยปวดแรงอย่างนี้เลย
- อาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน ก่อน หรืออาการปวดท้องประจำเดือนรุนแรงขึ้นในทุก ๆ เดือน
- ปวดหลังหรือปวดท้องมากจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แม้กระทั่งกินยาแก้ปวดก็ยังไม่หาย
- มีอาการปวดตลอดช่วงที่มีประจำเดือน
- อาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนยังคงไม่หาย แม้ประจำเดือนจะหมดไปแล้ว
- ปวดหลังมากและประจำเดือนมาน้อยหรือมากผิดปกติ (เป็นประจำเดือน 2 วัน หรือเกิน 7 วัน)
- ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนพร้อมกับมีอาการตกขาวมาก ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
- ปวดหลังระหว่างมีประจำเดือน ร่วมกับมีไข้สูง
- ปวดหลังหรือท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งมากเป็นพิเศษ
- ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนและสังเกตเห็นหน้าท้องบวมโตผิดปกติ ร่วมกับคลำก้อนที่ท้องได้
หากมีอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน ร่วมกับอาการผิดปกติเบื้องต้น แนะนำให้รีบไปพบสูตินรีแพทย์โดยเร็วที่สุดนะคะ เพราะความผิดปกติดังกล่าวอาจเป็นผลจากความผิดปกติในช่องท้องส่วนล่าง (มดลูก, รังไข่, ปีกมดลูก) เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือมีอาการอักเสบที่อุ้งเชิงกรานก็เป็นได้
แต่สำหรับสาว ๆ ที่มีอาการปวดประจำเดือนนอกเหนือไปจากนี้ สามารถเช็กว่าเราเสี่ยงมีความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์อะไรได้บ้าง จากด้านล่างนี้เลย
กินยาแก้ปวดทุกครั้งที่ “ปวดท้องประจำเดือน” อันตรายหรือไม่?
“ประจำเดือน” จะมา พาปวดหัว
“ปวดไมเกรนช่วงมีประจำเดือน” เกิดจากอะไร รับมืออย่างไรดี?
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการ “ปวดท้องประจำเดือน”
“ปวดท้องประจำเดือน” ปวดแบบไหน? ต้องไปหาหมอ
ทำไมชอบ “ปวดหัวก่อนมีประจำเดือน” นะ
“ปวดท้องประจําเดือน” แบบไหน? ถึงต้องไปตรวจภายในได้แล้ว
ปวดน้องสาวเวลามี “ประจำเดือน” เกิดจาก? บรรเทาได้อย่างไร?
สัญญาณบอกโรค “ปวดท้องน้อย ประจำเดือนไม่มา”
ได้รู้สาเหตุของอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน และอาการที่ส่อเค้าผิดปกติกันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูกันค่ะว่าอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน บรรเทายังไงให้หาย สาว ๆ จะมีวิธีคืนความสบายให้ร่างกายด้วยตัวเองยังไงได้บ้าง
วิธีแก้อาการปวดหลัง ช่วงมีประจำเดือน
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างถูกสัดส่วน โดยควรรับประทานผัก-ผลไม้ให้มาก โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินบีและแมกนีเซียมสูง ลดอาหารเค็ม มัน รวมทั้งสารกระตุ้นอาการปวดอย่างเช่น กาแฟ ชา และแอลกอฮอล์
10 อาหาร ต้าน “ปวดประจำเดือน”
บำบัดอาการทรมาน เมื่อมี “ประจำเดือน”
- ดื่มน้ำอุ่นให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือจะดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดประจำเดือนช่วยด้วยอีกทางก็ได้
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น หรืออาหารที่มีความเย็น
- อาบน้ำอุ่น หรืออาจใช้แผ่นแปะชนิดร้อนแปะไว้ที่หลัง เพื่อให้ความร้อนช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึง ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีงานวิจัยที่เผยว่า การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนรวมทั้งอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนได้
- กินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดประเภทไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) หรือยาแก้ปวดประจำเดือน เช่น พอนสแตน (Ponstan) ก็ได้ แต่ควรจะกินยาขนาด 250 มิลลิกรัมก็พอ และต้องกินหลังอาหารทันทีด้วย เนื่องจากยาแก้ปวดเหล่านี้มีฤทธิ์เป็นกรดค่ะ
“ปวดท้องประจำเดือน” แต่ไม่อยากกินยาแก้ปวด เรามีเคล็ดลับมาบอก
- ผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยท่ายืดเหยียดร่างกาย หรือท่าโยคะแก้ปวดประจำเดือน
เล่นโยคะหัวเราะ สร้างสุขภาพดีได้ในช่วงมี “ประจำเดือน”
สุดยอดท่าโยคะ บรรเทาอาการ “ปวดท้องประจำเดือน”
- นอนให้ถูกท่า เป็นวิธีแก้ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนที่ทำได้ง่าย ๆ แค่นอนตามนี้
ท่านอนแก้ “ปวดท้องประจำเดือน” หลับเต็มตื่นโดยไม่ทรมาน
อาการปวดท้องช่วงมีประจำเดือนที่มาพร้อมกับอาการปวดประจำเดือนที่ไม่ปกติ สาว ๆ อย่าได้วางเฉยหรือคิดว่าไม่เป็นอะไรเชียวนะคะ เพราะหากอาการปวดหลัง ปวดประจำเดือนมาก ๆ ที่เป็นอยู่เกิดจากความผิดปกติในอวัยวะระบบสืบพันธุ์จริง ๆ จะได้รักษาได้ทันท่วงที ดีกว่าปล่อยให้เป็นเรื้อรังและทรมานกับอาการปวดไปเรื่อย ๆ
เคล็ด (ไม่) ลับ
สำหรับสาวๆ ที่ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือปวดประจำเดือนบ่อยๆ มีอาการตกขาวมามาก หรืออยากผิวพรรณผ่องใส ทางเรามีสิ่งดีๆ มาฝากก็คือการทาน ยาสตรี
“ยาสตรี” จะช่วยแก้ไขปัญหาที่สาวๆ กำลังเผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นตัวยาที่มาจากสมุนไพรธรรมชาติ ช่วยตอบโจทย์ปัญหาของผู้หญิง สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นยาฟอกเลือด บำรุงเลือด ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส แต่ถึงอย่างไรนั้นเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ยาสตรีที่เราจะเลือกนั้น สรรพคุณดี มีความน่าเชื่อถือ และไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จริงๆ ไม่ต้องไปเสี่ยงเลือกแล้วนะคะสาวๆ ทางเราขอแนะนำและเลือกมาให้แล้ว คือ ยาสตรีฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง จริงๆ ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลรามคำแหง
doctorsmithtv
โรงพยาบาลวิภาวดี
huffingtonpost
spinemd
https://health.kapook.com/view178974.html